บทความนี้เป็นบทความที่วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของราคาอาโวคาโด ตั้งแต่ปี เดือนมกราคาม 2015 จนถึงปี เดือน เมษายน 2018 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอาโวคาโด พันธุ์แฮส (Hass) ซึ่งได้ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ Hass Avocado Board
ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความรู้จักข้อมูลของอาโวคาโดก่อน
อาโวคาโด หรือ ลูกเนย (อังกฤษ: avocado) เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก ผลของอาโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม อะโวคาโด้สามารถแยกได้ตามขนาดของผลอะโวคาโด้ โดยกำหนดเป็น code เพื่อให้สามารถเข้าใจและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ความหมายของรหัส code
#4046 หมายถึง Small size ขนาด 3-5 ออนซ์
#4225 หมายถึง Large size ขนาด 8-10 ออนซ์
#4770 หมายถึง Extra Large size ขนาด 10-15 ออนซ์
นอกจากนี้ยังแยกเป็นแพ็คตามขนาดต่างๆอีกด้วย เช่น Small bags,Large bags และ XLarge bags
การบันทึกยอดขายอาโวคาโดในพื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกาถูกแบ่งออกเป็น 8 พื้นที่ใหญ่ๆดังนี้
ซึ่งในแต่ละเขตก็สามารถแแบ่งออกเป็นเมืองต่างๆดังตาราง
ความหมายของตาราง Excel
ในส่วนของข้อมูลในตาราง Excel ที่จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์นั้นแสดงค่าต่างๆ ดังนี้
- วันที่บันทึกข้อมูล ซึ่งบันทึกเป็นรายสัปดาห์ ( Date )
- ราคาเฉลี่ยต่อผล ( AveragePrice )
- ยอดรวมการขาย ( Total Volume )
- #4046
- #4225
- #4770
- Small bags
- Large bags
- Extra Large bags
- เมืองที่ขาย ( Region )
วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Tableau
หลังจากทราบค่าต่างๆแล้ว จากนั้นเราก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Tableau เพื่อวิเคราะห์ ยอดขายของอาโวคาโด ในแต่ละรัฐ เพื่อทำการวางแผนนำเข้าอาโวคาโดขนาดต่างๆไปขายในรัฐต่างๆ เพื่อให้ได้ยอดขายและกำไรสูงสุด
-
กราฟแสดงความสัมพันธ์ยอดขายในแต่ละปีและความน่าจะเป็นของยอดขายแต่ละขนาดของอาโวคาโด
นายจารุวัฒน์ ด้วงนิล 1590901094
จากกราฟ Sold of Region (กราฟด้านซ้ายมือ ) จะเห็นได้ว่า ในเขตของ West จะมียอดขายอาโวคาโดมากที่สุดและเพิ่มขึ้นทุกปี รองลงมานั้นคือ เขต South Central และ California ซึ่งในเขตของ Californisa ในปี 2017 จะเห็นได้ว่า ยอดขายลดลงจากปี 2016 จาก 326 ล้านหน่วย เหลือเพียง 317 ล้านหน่วย และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกราฟ Probability of Sold (กราฟด้านขวามือ) ก็จำทำให้ทราบความน่าจะเป็นยอดขายแต่ละขนาดของอาโวคาโดในแต่ละเขต อาทิเช่น Northeast ในปี 2015
- จะมีความน่าจะเป็นยอดขาย #4046 เท่ากับ 0.02 คิดเป็นจำนวนอาโวคาโดทั้งหมด 4.14 ล้านหน่วย (ความน่าจะเป็น คูณ ยอดขายทั้งหมดในปี 2015 )
- จะมีความน่าจะเป็นยอดขาย #4225 สูงถึง 0.72 คิดเป็นจำนวนอาโวคาโดทั้งหมด 149 ล้านหน่วย (ความน่าจะเป็น คูณ ยอดขายทั้งหมดในปี 2015 )
- ซึ่งเมื่อรวมยอดขาย #4046 ยอดขาย #4225 จะคิดเป็น 153 ล้านหน่วย ซึ่งเมื่อเทียบกับยอดรวมทั้งหมดแล้ว มีค่ามากกว่า 50 % นับได้ว่าเป็นสินค้าหลักของเขต Northeast เลยก็ว่าได้
ดังนั้นในปี 2015 จำเป็นที่จะต้องนำเข้าอาโวคาโด #4225 ในสัดส่วนที่มากกว่า #4046 เพื่อให้ยอดขาดได้มากที่สุด หากทำการนำเข้าอาโวคาโดทั้งสองขนาด ในสัดส่วนที่เท่ากัน ก็อาจจะทำให้ เหลืออาโวคาโด #4046 มาก เนื่องจากไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
2. กราฟแสดงการแจกแจงความถี่ราคาเฉลี่ยในเขต Northeast เทียบกับ West
จากกราฟจะเห็นได้ว่า ในเขต Northeast (กราฟสีน้ำเงิน) ราคาเฉลี่ย 1.9 US$ จะขายได้มากที่สุด ซึ่งราคาเฉลี่ย 1.3 US$ ก็ขายได้ใกล้เคัยงกัน เมื่อเทียบกับ เขต West (กราฟสีเทา) ราคาเฉลี่ย 0.9 US$ จะขายได้มากที่สุด แต่ช่วงราคาสูงๆนั้นจะขายได้น้อย ดังนั้นการจะนำอาโวคาโดมาขายในเขตของ West นั้น จะต้องคำนึงถึงต้นทุนและควบคุมราคาให้อยู่ในช่วง 0.8-1.1 US$ เพื่อเพิ่มยอดขายอาโวคาโดให้ได้มากที่สุด
3. กราฟแสดงราคาเฉลี่ยเทียบกับยอดขายทั้งหมดในแต่ละเดือน ในปรเทศสหรัฐอเมริกา
จากกราฟในปี 2015 จะเห็นได้ว่า ราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีนี้ มีค่าใกล้เคียงกัน แต่ยอดขายในช่วงต้นปีนั้น จะสูงกว่า ปลายปี และเมื่อดูกราฟในปี 2017 จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นปีนั้น ราคาเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ยอดขายนั้นกลับลดลงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในเดือนสิงหาคม ราคาเฉลี่ยจะสูงที่สุด ถึง 1.84 US$ และยอดขายอาโวคาโดก็น้อยที่สุดในปี 2017 ด้วยเช่นกัน หลังจากเดือนสิงหาคมนั้นราคาเฉลี่ยจึงลดลงส่งผลให้ยอดขายเริ่มเพิ่มมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ายอดขายเฉลี่ยทั้งปี ( กราฟเส้นประ Sold Avg )ในปี 2017 จะใกล้เคียงกับปี 2016 แต่จะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยราคาตลอดทั้งปี (กราฟเส้นทึบ Price Avg) สูงขึ้นมากกว่าปี 2016 นั่นหมายถึง ขายอาโวคาโดจำนวนเท่าเดิม แต่กำไรมากขึ้นนั่นเอง
4. กราฟการทำนายยอดขายในปี 2018 จากสถิติยอดขขายในปี 2015-2017 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
จากกราฟในปี 2015 และปี 2016 นั้น จะเห็นไดด้ว่า ช่วงไตรมาสที่ 2 นั้น ยอดขายอาโวคาโดจะสูงที่สุดในรอบปี และหลังจากไตรมาที่2 ยอดขายก็ลดลงต่อเเนื่องอย่างมาก (สังเกตุได้จากกราฟที่ลดลงเป็นเส้นตรง) แต่ในปี 2017 นั้น จะเห็นได้ว่ายอดขายในช่วงไตรมาสที่1 และ 2 นั้นมีค่าสูงใกล้เคียงกัน แต่สูงกว่าในปีที่ผ่านมา และลงลงในไตรมาสที่ 3 แต่ในช่วงไตรมาสที่4 ยอดขาอาโวคาโดนั้นสูงขึ้นมากกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา ซึ่งการทำนายยอดขายในปีถัดไปนั้นก็มีแนวโน้มว่า ยอดขายในช่วงต้นปีนั้นก็ยังคงสูงกว่าปลายปี และในช่วงไตรมาที่2 จะเป็นช่วงที่ยอดขายอาโวคาโดจะสูงที่สุด จากยอดขายเฉลี่ยในปี 2015-2017 ที่ผ่านมา มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งในปี 2018 นั้นก็คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยทั้งปีที่สูงขึ้นกว่าทุกๆปี ดังนั้นในปี 2018 ควรที่จะนำเข้าอาโวคาโดในอัตราที่สูงขึ้นมากกว่าทุกๆปีในช่วงต้นปี และลดลงในช่วงปลายปี แต่โดยเฉลี่ยนั้นยังคงสูงกว่าปีที่ผ่านมา
5. เทรนยอดขายรายสัปดาห์และการทำนายยอดขาย 14 สัปดาห์ในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา
จากราฟจะเห็นยอดขายอาโวคาโดรายสัปดาห์ตลอดทั้งปี ซึ่งจะเห็นเส้นแนวโน้วยอดขายอาโวคาโด(เส้นประสีชมพู) เพิ่มสูงขึ้น ส่วนในการทำนายยอดขายในอีก 14 สัปดาห์ถัดไป (เส้นประสีเหลือง) จะเห็นเป็นกราฟเอกโพเนลเชียวลดลง ดังนั้น การนำเข้าอาโวคาโดในอีก 14 สัปดาห์ต่อจากนี้ ควรที่จะลดลงเนื่องจากแนวโน้มยอดขายนั้นลดลง หรืออาจจะทำการตลาด ลดราคาอาโวคาโดในช่วงนี้ เพื่อให้ยอดขายอาโวคาโดเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
6. กราฟแสดงส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาอาโวคาโดเฉลี่ย เทียบกับราคาเฉลี่ยอาโวคาโดในประเทศสหรัฐอเมริกา
นายวสันต์ อินผิว 1590900351
จากกราฟจะเห็นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาอาโวคาโดเฉลี่ย (กราฟสีชมพู) ในช่วงกลางปี 2015 นั้นลดลงต่ำมากที่สุด ซึ่งราคาเฉลี่ย (กราฟสีน้ำเงิน) ก็มีค่าต่ำเช่นกัน นั่นแสดงถึงในช่วงกลางปี 2015 นั้นราคาเฉลี่ยอาโวคาโดในแต่ละเขตนั้นมีราคาถูกและราคานั้นเกาะกลุ่มกันมาก ไม่แพงหรือต่ำจนเกินไป แต่ในช่วงปลายปี 2015 ช่วงที่ราคาเฉลี่ยสูงขึ้น จะเห็นค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนั้นสูงขึ้นตาม ในช่วงนี้ ราคาเฉลี่ยอาโวคาโดนั้นจะกระจายตัวมาก ซึ่งจะทำให้พบราคาอาโวคาโดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายของอาโวคาโดในร้านที่ขายแพงกว่า มียอดขายที่น้อยกว่า ทำให้ยอดขายอาโวคาโดรวมทั้งหมดลดลง แต่ในปี 2017นั้น ในช่วงที่ราคาเฉลี่ยสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า ส่วนเบียงเบนมาตรฐานลงลงต่ำ ซึ่งราคาอาโวคาโดในช่วงนี้ก็จะเกราะกลุ่มกัน ทำให้อาโวคาโดในแต่ละพื้นที่ขายได้เท่าๆกัน และเพิ่มยอดขายอาโวคาโดขึ้นไปอีก ดังนั้น การที่จะเพิ่มราคาอาโวคาโดขึ้นนั้น ควรที่จะเพิ่มราคาอาโวคาโดทั้งหมดทั่วพื้นที่ เพื่อทำให้ยอดขายอาโวคาโดเพิ่มขึ้น
7. กราฟแสดงเปอร์เซนยอดขขายอาโวคาโดในแต่ละเขต ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากกราฟจะเห็นเปอร์เซนต์ยอดขายทั้งหมดในปี 2017 ในแต่ละเขต ซึ่งในเขตที่มียอดขายมากที่สุดคือเขต West มีมากถึง 18.50% รองลงมาคือเขต South Central 17.45% และอันดับ3 คือ California 17.03% ดังนั้นควรที่จะวางแผนส่งสินค้าอาโวคาโด ไปยัง 3 เขตนี้เป็นหลัก เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น และควรที่จะทำการตลาดในเขตที่ขายได้น้อย อย่างเช่นเขต Southeast ซึ่งมีเพียง 10.55% และเมืองอื่นๆ เพื่อจะทำให้ยอดขายและกำไรสูงเพิ่มขึ้น
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนเรื่อง Tableau for Data Science
เครื่องมือ Tableau นั้นเป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนข้อมูลสถิติทางตัวเลข ให้เป็นกราฟหรือแบบนำเสนอต่างที่เข้าใจง่ายและช่วยในการวิเคราะห์ แยกแยะ และตัดสินใจต่างๆ เช่น ในเนื้อหาด้านบน ก็ทำให้ทราบความนิยมของผู้บริโภคอาโวคาโดในแต่ละเมืองได้ เพื่อที่จะตัดสินใจ ส่งสินค้าไปขายตามเมืองต่างๆ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักสินค้าที่นิยมในเมืองนั้นๆ เพื่อที่จะเพิ่มยอดขายและกำไรให้ผู้ขายได้สูงที่สุด ทั้งนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียน ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำเสนอข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจ และเข้าใจง่าย
สามารถดาวโหลดไฟล์เอกสารที่จัดทำด้วยโปรแกรม Tableau ได้จากลิ้งค์ด้านนี้
สามารถดูวิดีโอในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ไดด้จากลิ้งค์นี้
โครงงานการวิเคราะห์และสร้างภาพข้อมูลด้วย Tableau
วิเคราะห์ทางสถิติราคาอาโวคาโดในประเทศสหรัฐอเมริกา 2015-2018
จัดทำโดย
นายวสันต์ อินผิว 1590900351
นายจารุวัฒน์ ด้วงนิล 1590901094
นายณัฐดนัย อยู่สินธุ์ 1590900674
นายบุรธัช โวทาน 159090690
เสนอ
อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่
วิชา IE311 ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกร
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
—————————————————-
TABLEAU PROJECT FOR DATA SCIENCE
Price of Avocado
SUBMITTED BY
Wasun Inpew 1590900351
Jaruwat Duangnin 1590901094
Natdan Yusin 1590900674
Buratat Wotan 159090690
PRESENT
TODSAPON BANKLONGSI
IE311 PROBABILITY AND STATISTICS FOR ENGINEERS
DEPARTMENT OF ELECTRICAL AND ELECTRONICS ENGINEERING
SCHOOL OF ENGINEERING
BANGKOK UNIVERSITY
SEMESTER 2 YEAR 2018