[Innovation] เทคโนโลยี IoT Smart farm with AI สมาร์ทฟาร์มเอไอ

Internet of Thing ( Smart Farm )

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Iot กับการเกษตร

 

ประวัติความเป็นมา

Internet of things (IoT) ถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 จากโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเอง กลายมาเป็นแนวคิดของการทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สื่อสารกันได้โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกันและกัน

ในปัจจุบัน IoT ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่างทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพโดย ใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด ซึ่งนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า เกษตรอัจริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ซึ่งได้นำเทคโนโลยี RFID Sensors เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้น สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ เช่น การใช้เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่างๆ อย่าง เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอร์วัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจโรคพืช (Plant Disease Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor) เป็นต้น เซ็นเซอร์เหล่านี้สามารถนํามาวางเป็นระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปล่อยในพื้นที่ไร่นา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง และสารเคมี เพื่อที่จะทราบว่าควรมีการให้ปุ๋ย น้ำ ยาฆ่าแมลง เมื่อใด และเท่าใดตามสภาพความแตก ต่างของพื้นที่ ซึ่งการให้ปุ๋ย น้ำ และยาฆ่าแมลงก็จะใช้เทคโนโลยีการให้ปุ๋ย/น้ำ/ยาฆ่าแมลง หรือที่เรียกว่า Variable Rate Technology (VRT) โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้ระบบเซ้นเซอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าแปลงใดควรจะมีการให้ปุ๋ย น้ำ และย่าฆ่าแมลงเท่าใดในช่วงเวลาใด ซึ่งเทคโนโลยีจะใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Global Positioning System (GPS) นั่นเอง

แรงบันดาลใจที่คิดค้นและพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมา

เรามองเห็นว่าการทำเกษตรปราณีตจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น จากโอกาสของการที่ผลผลิตจะสามารถนำไปถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการให้เกษตรกรลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เน้นปริมาณมากแต่ราคาต่ำ ให้เป็นแปลงเกษตรเฉพาะทางที่หลากหลาย แม่นยำ มีคุณภาพที่เที่ยงตรงมากขึ้น ไม้ผลไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดใหญ่ แต่เน้นให้มีรสชาติที่น่าประทับใจ อย่างกรณีการปลูกเมลอนในพื้นที่ภาคใต้ อากาศร้อนชื้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ควบคุมคุณภาพและรสชาติ ลำบาก ดังนั้นเราจึงนำเทคโนโลยี IoT มาช่วยทำให้เกิดความแม่นยำในการปลูกให้สารอาหาร ดูแลแมลง รวมถึงการควบคุมน้ำหนักผลเมลอนตามโปรแกรมที่กำหนด และสุดท้ายยังปรับระดับความหวาน ที่สามารถเลือกได้ว่าต้องการหวานน้อย ปานกลาง หรือมาก ให้กลายเป็นผลไม้สั่งตัดได้ตามความต้องการ รวมถึงสามารถระบุวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการประยุกต์นำเอาเทคโนโลยี IoT มาใช้กับ Smart Farm โดยมีการร่วมมือกับนักวิชาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT กับธุรกิจและการดำเนินชีวิตประจำวัน

จากคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้ IoT จะถูกแทรกซึมเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ อาทิ การเชื่อมต่ออุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์เข้ากับเครื่องปรับอากาศ ทำให้เราสามารถสั่งการให้เครื่องปรับอากาศให้ทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือก่อนที่เราจะกลับบ้าน หรือ ติดตั้งตัวรับ Wifi เข้ากับโครนเพื่อสั่งให้โครนขนส่งพัสดุไปตามที่ต่างๆ หรือ เป็นต้น

ในทางการแพทย์ หรือ smart health เทคโนโลยี IoT สามารถทำประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ การติดตามผู้ป่วยขณะทำการรักษานอกหรือในโรงพยาบาล รวมถึงการดำเนินกิจกรรมในโรงพยาบาล เช่น การทำตารางสั่งซื้อยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ การส่งผ่านข้อมูลผู้ป่วยขณะทำการผ่าตัดไปปรึกษาผู้เชียวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาลในต่างประเทศ

อาคารอัจฉริยะ หรือ smart building ก็เป็นอีกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ IoT สำหรับประหยัดพลังงาน เช่น การติดตั้งเซนเซอร์ที่สำรวจจำนวนคนที่อยู่ในห้อง และใช้จำนวนคนในห้องมาประมวลผลในการปรับอุณหภูมิห้อง อย่างห้องประชุมที่มีผู้เข้าประชุมจำนวนมาก ระบบก็จะปรับอุณหภูมิให้ลดลงเมื่ออุณหภูมิห้องเย็นเต็มที่แล้ว หรือเมื่อคนออกจากห้องไปหมดแล้ว ระบบก็จะสั่งให้เครื่องปรับอากาศหยุดทำงาน เป็นต้น

เมืองอัจฉริยะ หรือ smart city อย่างการติดตั้งเซนเซอร์ IoT เข้ากับไฟจราจรเพื่อควบคุมการจราจรอัตโนมัติบนท้องถนน อาทิ กรณีที่ถนนเกิดจราจรติดขัด รถระบายไม่เพียงพอ ระบบก็จะสั่งให้สัญญาณไฟแดงลดลงและสัญญาณไฟเขียวนานขึ้น หรือ เพิ่มช่องการจราจรให้มากขึ้นในช่องทางที่จราจรติดขัด

เกษตรอัจฉริยะ หรือ smart farming สามารถนำ IoT มาประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น โดยการติดตั้งเซนเซอร์ IoT ในแปลงเกษตรเพื่อติดตามอุณหภูมิดิน ปริมาณแสง ความชื้นในพื้นที่แปลง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการออกแบบระบบการให้น้ำอัตโนมัติได้

 

ความหมายที่แท้จริงของ IoT คืออะไร

Internet of Things หรือ IoT นับเป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ที่หมายถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่างๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งในอนาคตของผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องรดน้ำต้นไม้ หรือแปลงเกษตรของตนเอง

หลักการทำงานของ IoT

    

การทำงานของ IoT สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.การเก็บข้อมูล – ข้อมูลที่ถูกเก็บจากอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครื่องมืออีเล็กโทรนิกส์สำหรับวัดค่าหรือข้อมูลที่เราสนใจ

2.การตรวจทานและส่งต่อข้อมูล – ข้อมูลถูกเก็บจะถูกส่งไปที่พื้นที่เก็บข้อมูลหรือศูนย์เก็บข้อมูล

3.การวิเคราะห์ข้อมูลและสั่งการทำงาน – หลังจากตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วก็จะทำการประมวลผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เสร็จแล้ว ระบบอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ก็จะทำการสั่งอุปกรณ์ให้ทำตามคำสั่งที่กำหนดไว้

หลักการใช้งาน

คือ ต้องคอยมีคนควบคุมการทำงานของเครื่องจักรคอยดูค่าเฉลี่ยต่างๆคอยเปิดและปิดอุปกรณ์ต่างๆ คอยสั่งการจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องจักรเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะถึงจะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เอาเข้ามาช่วยให้ทำงานได้สะดวกสะบายเเละรวดเร็วยิ่งขึ้นแต่ก็ยังต้องมีคนคอยควบคุม

 

 

ประโยชน์ของ  Internet of Thing ( Smart Farm )

1.ลดการใช้แรงงาน จะได้ไม่ต้องเสียทุนไปกับการจ้างแรงงานจนหมด

2.ลดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้มีทุนเหลือไปต่อยอดเพื่อทำสิ่งต่างๆ

3.ใช้เนื้อที่น้อย ให้อัตราผลผลิตต่อพื้นที่ดีกว่า เพราะพืชได้น้ำและสารอาหารตลอดเวลา

4.ติดตามข้อมูลจากการดำเนินธุรกิจ เช่น ยอดการสั่งซื้อและขนส่งสินค้า ข้อมูลกำไรและขาดทุนจากการขายสร้างประสบการณ์อันดีให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ

5.ประหยัดเงินและเวลา เนื่องข้อมูลถูกเก็บและประมวลผลผ่านคอมพิวเตอร์

6.ทำให้พนักงานทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น

7.เชื่อมต่อข้อมูลข้ามธุรกิจและปรับกระบวนการดำเนินงานเข้าด้วยกันมากขึ้น

8.การตัดสินใจในการดำเนินงานทำได้รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บและประมวลผลได้เร็ว

9.สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้แรงงานในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล

 

ไอเดียเพิ่มเติม IoT (Smart farm with AI)

     คือ ผมจะใส่เทคโนโลยี AI เพิ่มเข้าไปด้วย โดยผมจะนำอัลกอริทึมต่างๆจากเกษตรที่ได้มานำไปเขียนไดอะแกรมแล้วจะนำไปเขียนเป็นโปรแกรม AI ให้มันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไอเดียของผมนี้เราจะไม่ต้องใช้แรงงานอีกต่อไปเพราะ AI สามารถที่จัดการทำเองได้ทั้งหมดเลยโดยที่ไม่ต้องใช้แรงเลยสักคนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกเยอะและยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงอีกด้วย

 

    ประโยชน์ที่เพิ่มเติม

คือ ทำให้เราได้ผมผลิตที่มีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการและได้ผลผลิตที่ดีมากยิ่งขึ้นแลทำให้เรายิ่งสามารถประหยัดทรัพยารต่างๆได้มากขึ้นอีกแถมยังประหยัดเงินทุนทำให้เรามีเงินไปต่อยอดสร้างธุรกิจใหม่ๆได้อีกหลายอย่าง

 

 

แหล่งที่มา

https://internetofthingsagenda.techtarget.com/definition/Internet-of-Things-IoT

https://stri.cmu.ac.th/a

http://www.digitalagemag.com/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-iot/

http://www.dpu.ac.th/bigdata/iot-smart-agriculture.html

เทคโนโลยี IoT กับเกษตรในเมือง ตอนที่ 1

 

at GlurGeek.Com
สวัสดีครับผมเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กำลังศึกษาอยู่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ ชั้นปีที่ 1 งานอดิเรก คือ ชอบดูหนังเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ Sci-Fi
ชอบเล่นเกมเพราะมันทำให้ไม่เครียด ชอบฟังทุกเพลงทุกแนวเพราะมันทำให้จิตใจสงบ
ความฝัน อยากเป็นโปรแกรมเมอร์

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com
Exit mobile version