MY PROJECT (TSC.) WITH AUTOCAD 2016
TSC.
THE LIVING INSYSTEM COMPLETELY
โครงการที่พักอาศัย TSC. รังสรรค์ขึ้นมาเพื่อสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอน โครงการ TSC. นี้คือการผสมผสานเอาวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เข้ากับชีวิตการทำงานที่ต้องเป็นระบบ แบบแผนตลอดเวลาซึ่งมีการจำกัดของเวลาและการใช้สอยพื้นที่ครบครันได้อย่างลงตัวเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรง
ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ในเมืองที่คุ้นเคย เป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียว 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1ห้องนั่งเล่น 1 ห้องทำงาน 1ห้องครัว และ 1 ห้องโถง พื้นที่ทั้งหมด 425 ตารางวาหรือประมาณ 1 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีพื้นที่กว้างพอสมควรสำหรับบ้านใจกลางเมือง ตกแต่งด้วยสไตล์ลอฟท์ เรียบ หรู โมเดิร์น เน้นความสะดวกสบาย ครบครัน มีความเป็นอิสระ บรรยากาศอบอุ่น ตัวบ้านเน้นโทนสี Earth Tone ผสมผสานกับ สี Loft เป็นโทนสีที่ได้จากการเลียนแบบธรรมชาติ ให้ความรู้สึก สุขุม เข้มแข็ง มองแล้วสบายตา ดูหรูหรา เรียบง่าย สร้างความโดดเด่นด้วยเส้นสายที่มั่นคง โดยสีหลักจะใช้สี Loft สลับกับสี Earth Tone เป็นบ้านที่ให้ความรู้สึกเป็นได้ทั้งที่พักผ่อนและที่ทำงานในที่เดียวกัน
สำหรับการจัดสรรพื้นที่ภายในบ้าน ได้มีการออกแบบให้มี พื้นที่ในการพักผ่อนและการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของคนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรง เริ่มจากพื้นที่Out door ด้านหน้าของตัวบ้านเป็นลานกว้างที่สามารถจัดสวนพักผ่อนได้ มีลานน้ำพุ ซึ่งตามหลักหวงจุ้ยแล้วการมีต้นไม้พื้นที่เขียวชอุ่มอยู่หน้าบ้านจะช่วยดึงดูดโชคลาภ ความสำเร็จมาสู่ผู้อยู่อาศัยและการที่มีน้ำพุอยู่ด้านหน้าบ้านนั้นจะช่วยดึงดูดเงินทองเข้ามาภายในบ้าน ถัดมาคือพื้นที่ In door เปิดประตูเข้ามาจะพบกับทางพักที่มีไว้สำหรับการวางชั้นรองเท้า และมีประตูชั้นในอีก 1 ชั้นเพื่อเข้าสู่ตัวบ้านด้านใน ส่วนแรกในตัวบ้านคือ ห้องโถงเป็นการการOpen Plan ซึ่งเป็น Highlight ของการออกแบบตัวบ้าน เชื่อมพื้นที่ห้องครัว สระว่ายน้ำ ห้องนั่งเล่น และห้องรับประทานอาหารเข้าไว้ในโถงเดียวกัน ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง เป็นอิสระสามารถจัดปาร์ตี้เล็กๆได้ ออกแบบให้มีพื้นที่ในการผ่อนคลายให้กับชีวิต ในส่วนของห้องครัวมีซิ้งค์ถาวรติดกับตัวบ้าน มีสระว่ายน้ำไว้สำหรับการพักผ่อนหรือปาร์ตี้เล็กๆ มีประตูด้านหลังเปิดออกไปสู่ระเบียงหลังบ้านได้ถัดมาในส่วนของห้องนอนซึ่งเป็นส่วนสำคัญหลักของที่พักอาศัยมีห้องนอน 2 ห้อง ห้องนอนแรกเป็นห้องนอนใหญ่เชื่อมต่อกับห้องแต่งตัว ส่วนห้องนอนเล็กจะอยู่ด้านหน้า โดยทั้งสองห้องนอนมีห้องน้ำเชื่อมอยู่ระหว่างกลางร่วมกัน ถัดมาด้านซ้ายของตัวบ้านเป็นห้องทำงานที่มีพื้นที่ในการทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบและมีพื้นที่กว้างสามารถทำงานเป็นทีมได้ ห้องทำงานเชื่อมต่อกับห้องน้ำห้องที่ 2 ของตัวบ้าน และมีประตูด้านหน้าห้องทำงานที่เปิดออกมาเป็นระเบียงหน้าบ้าน เป็นการสร้างบรรยากาศRelax ในระหว่างที่ทำงานอีกทางหนึ่ง เพื่อลดความตรึงเครียดจากงานที่ทำ ซึ่งเป็นบ้านที่สะดวก ครบครัน อย่างเป็นระบบ ตรงกับ Concept“ THE LIVING IN SYSTEM COMPLETELY ” ซึ่งเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การเขียนแบบแปลนบ้านและวงจรไฟฟ้าภายในตัวบ้าน จะเขียนด้วยโปรแกรม AutoCAD 2016 เราจะบอกขั้นตอนการเขียนพื้นฐานของการใช้โปรแกรม แบบ Step by step กันเลย
ก่อนอื่นเลยเรามารู้คำสั่งลัดง่ายๆ ในโปรแกรม Autocad ตัวนี้ก่อน เพื่อง่ายและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
เมนูคำสั่ง
File จะรวมคําสั่งจัดการไฟล์งาน เปิดไฟล์ Save ไฟล์ การพิมพ์งาน
Edit รวมคําสั่งแก้ไข Undo – Redo (ไม่ใช่เครื่องมือคําสั่งแก้ไขวัตถุ)
View รวมคําสั่งที่ใช้ในการจัดการมุมมอง แบ่งส่วนพื้นที่ทํางาน
Insert รวมคําสั่งแทรกวัตถุ Block แทรกวัตถุภาพ
Format รวมคําสั่งการตั้งค่ารูปแบบต่าง เช่น Text Style, Dimension Style
Tools การตั้งค่า Option ของโปรแกรม, กลุ่มเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องมือช่วยเลือกวัตถุ
Draw กลุ่มคําสั่งวาดรูป
Dimension กลุ่มคําสั่งเครื่องมือวาดเส้นบอกระยะ –
Modify กลุ่มคําสั่งแก้ไขวัตถุ
Windows การจัดการหน้าต่างไฟล์งาน
Help คู่มือช่วยเหลือ (ช่วยได้เฉพาะคนที่ใช้งานเมนู Help เป็นเท่านั้น)
ขั้นตอนแรก เราต้องเข้าไปกำหนดหน่วยของชิ้นงานและจำนวนจุดทศนิยมในการเขียนแบบ โดยใช้คำสั่ง Units ในกรณีนี้ชิ้นงานที่เราจะเขียนมีหน่วยเป็นเมตร เราก็ควรจะตั้งหน่วยในการเขียนแบบให้เป็นเมตร
คลิกที่เมนู Format >> Units… ที่ช่อง Type ให้เราเลือก Decimal / ที่ช่อง Precision ให้เราเลือกจำนวนจุดทศนิยมที่ราต้องการ เช่น ตามตัวอย่างเลือก0.00 ( ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ) / ที่ช่อง Type ให้เราเลือกค่าเป็น Decimal Degrees / ที่ช่อง Units to scale inserted content ให้เราเลือกหน่วยเป็นเมตร ( Meters )( สำหรับคนที่ต้องการเขียนชิ้นงานที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรก็เลือกหน่วยเป็นมิลลิเมตร Millimeters ค่ะ / สุดท้ายก็คลิกปุ่มOK
ต่อมาเราจะสร้างรั้วบ้าน เพื่อจำกัดพื้นที่บริเวณบ้านทั้งหมดของบ้านเรา มีขนาด 80*85 เมตร และความหนาของรั้ว มีขนาด 0.5 เมตร โดยใช้คำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง สามารถเรียกจากปุ่ม Icon บน Toolbar
เมื่อเราสร้างเส้นตรง จะขึ้นกล่องเล็ก ๆ ตรงเคอร์เซอร์ Enable pointer input จะให้เราใส่ความยาวของเส้นที่เราจะสร้างขึ้น
Tip :
4,3 คือ การพิมพ์ค่า Absolute coordinate ในรูปแบบพิกัด X,Y
@1.5 คือ การพิมพ์ค่า Relative coordinate
@8<45 คือ การ พิมพ์ค่า Relative polar coordinate ในรูปแบบ @Distance<Angle
ต่อมาเราจะสร้างตัวบ้าน ให้ห่างจากรั้วบ้าน 5.5 เมตร และให้ความหนาของกำแพงมีขนาดเท่ากับ 5.5 เมตร โดยใช้คำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง เหมือนเดิม
หลังจากนั้นเราจะสร้างส่วนต่างๆภายในบ้าน ระเบียงหน้าบ้าน-หลังบ้าน ห้องนอน1 ห้องนอน2 ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ1 ห้องน้ำ2 ห้องครัว ห้องทำงาน ให้ความหนาของกำแพงขนาด 5.5 เมตร ด้วยคำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง เหมือนเดิม
ตอนนี้เราจะได้ตัวบ้านที่มีครบทุกห้องแล้ว ต่อไปเราจะใส่สัญลักษณ์ของประตู เราจะสร้างวงกบ เป็นประตูบานเปิดเดี่ยว มีขนาด 2 เมตร กางออก 90 องศา เราจะใช้คำสั่ง LINE (L) , CIRCLE (C) , TRIM (TR) ตัดแต่งสร้างวงกบขึ้นมา
เราจะสร้างเส้นตรงที่มีความยาวเท่ากับ 2 เมตร ตามแนวแกน x,y ต่อกันดังรูป และสร้างวงกลมที่มี R เท่ากับ 1 เมตร ขึ้นมาจากจุดที่เส้นตรงตัดกัน
TIP:
CEnter-Radius ใช้ในกรณีที่ทราบตำแหน่งของจุดศูนย์กลางและรัศมีของวงกลม
CEnter-diameter กำหนดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางและเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม
2 Points (2P) กำหนดตำแหน่งของจุดใดๆ สองจุดที่ส่วนโค้งของวงกลมลากผ่าน
3 Points (3P) กำหนดตำแหน่งของจุดใดๆ สามจุดที่ส่วนโค้งของวงกลมลากผ่าน
Tangents-Radius (I) กำหนดจุดสัมผัสเส้นตรงหรือเส้นโค้ง 2 จุด และกำหนดรัศมีของวงกลม
Convert Arc to Circle (A) เปลี่ยนเส้น Arc ที่เคยสร้างไว้ ให้กลายเป็นวงกลม
เราต้องการใช้แค่ส่วนโค้งของวงกลมเท่านั้น ดังนั้นเราจะ ใช้คำสั่ง TRIM (TR) ตัดแต่ง ลบวงกลมที่เหลือออก โดยการเลือกคำสั่ง Trim แล้วคลิก Mouse ขวาที่บริเวณเส้นตรงที่เราสร้างไว้ เสร็จแล้วคลิกซ้าย Mouse ของเราจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาทสีแดง แล้วเราคลิกซ้ายที่ส่วนของวงกลมที่ต้องการลบ เราก็จะได้แค่ส่วนของวงกลมที่เราต้องการ
จะสังเกตได้ว่าวงกบที่เราต้องใช้นั้นจะถูกจัดวางในหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งก็จะหันหน้าไม่เหมือนกัน เราก็จะใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place วางในตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ
ต่อไปเราจะใส่ Furniture เราสามารถ Design ได้ตามใจชอบตรงตามความต้องการของเรา เส้นที่ใช้ในการเขียนเราอาจเลือกใช้สีที่แตกต่างจากการเขียนแปลนบ้าน เพื่อให้เราแบ่งแยกได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละส่วนว่า เส้นไหนคือแปลน เส้นไหนคือ Furniture
ต่อไปเราจะสร้างน้ำพุบริเวณหน้าบ้านง่ายๆเลย โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) วาดรูปวงกลม 3 รูปซ้อนกัน มี R เท่ากับ 1.5,7,8 เมตร ตามลำดับ
ตอนนี้เราได้เขียนแบบแปลนบ้านครบทุกส่วน และใส่ Furniture เรียบร้อย
ขั้นตอนต่อไป เราจะสร้างเต้ารับไฟฟ้า มีขาดิน ขนาด 180 VA ขึ้นมาโดยใช้คำสั่ง LINE (L) , CIRCLE (C) , TRIM (TR) ตัดแต่งสร้างเต้ารับขึ้น และใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place เต้ารับไปวางในตำแหน่งต่างๆในบ้านที่ต้องการ
ต่อไปเราจะวางดวงโคม ตามจุดต่างๆภายในบ้าน บ้านหลังนี้จะใช้หลอดไฟอยู่ 2 แบบ คือ ดวงโคมครอบแก้วทรงกลม หลอด FLUORESCENT 32 W และ LIGHT EMITTING DIODE (LED) ชนิดหรี่แสงได้
จากนั้นเราจะใส่สีให้กับหลอดไฟของเรา โดยใช้คำสั่ง Draw > Hatch เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และเห็นเป็นตำแหน่งของหลอดไฟได้ชัดเจนขึ้น Hatch เป็นการระบายลวดลายแฮทช์ (Hatch Patterns) ลงบนขอบเขต (Boundary) ที่กำหนด ซึ่งขอบเขตอาจจะประกอบไปด้วยเส้นตรงหรือเส้นโค้งที่สร้างจากคำสั่งต่างๆ เราสามารถใช้คำสั่งนี้ในการเติมสีให้กับชิ้นงานเราได้ตามที่ต้องการ
ต่อมาเราจะสร้างสวิตซ์ไฟ โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) , TEXT สร้างสวิตซ์ขึ้น และใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place ในการวางตัวสวิตซ์ไฟในส่วนต่างๆของบ้าน
สวิตซ์ในตัวบ้านนี้ จะมีอยู่ 3 ตัว คือ
S สวิตซ์เดี่ยว ขนาด 16A – 250 VA , Sd สวิตซ์ประตูอัตโนมัติ , Sds สวิตซ์ไฟหรี่ (Dimmer Switch)
ต่อไปเราจะเดินสายไฟจากสวิตซ์ไปยังหลอดไฟ โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) สร้างวงกลม , TRIM (TR) ตัดแต่งเอาแค่ส่วนโค้งของวงกลมเท่านั้น การเดินสายไฟที่ต้องใช้เส้นโค้งเพราะจะไม่ซ้ำกับเส้นตรงในการเขียนแปลนบ้าน จะทำให้เราดูแปลนง่ายขึ้น
เท่านี้ก็เสร็จแล้วค่ะ ที่เหลือเราจะใส่ Dimension line เพื่อบอกขนาดส่วนต่างๆของแปลนที่เราสร้าง และบอกขนาดระยะห่างของการวางหลอดไฟแต่ละดวง หรือบอกตำแหน่งการวางหลอดไฟในแต่ละจุดนั่นเอง
สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/HjbKnuwMDlM
-
รูปภาพตารางสัญลักษณ์ไฟฟ้า ได้นำมาจาก www.pktc.ac.th
-
รูปคำสั่งลัด Autocad ได้นำมาจาก https://dreamaction.co/50-autocad-shortcuts/