แรงแม่เหล็ก
เป็นแรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแท่งแม่เหล็ก แม่เหล็กสามารถดูดวัตถุบางชนิดได้ วัตถุที่แม่เหล็กดูดนั้น ต้องเป็นวัตถุที่เป็นแม่เหล็ก หรือวัตถุที่มีสมบัติคล้ายแม่เหล็ก หรือ ที่เรียกว่า สื่อ หรือวัตถุที่เป็นสื่อแม่เหล็ก ได้แก่ วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และวัตถุที่ไม่ได้เป็นสื่อของแม่เหล็ก เช่น ไม้ บาง แก้ว พลาสติก เป็นต้น
ดังนั้นสรุปได้ว่า แม่เหล็กจะดูดวัตถุที่เป็นสื่อแม่เหล็ก แม่เหล็กที่ใช้ในปัจจุบันทำมาจากเหล็กซึ่งมีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น รูปตัวยู รูปเกือกม้า รูปแท่งสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น
แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือ ใช้สัญลักษณ์ N และขั้วใต้ ใช้สัญลักษณ์ S แรงดึงดูดของแม่เหล็กจะมีมากที่สุดบริเวณขั้วทั้ง 2 หรือ บริเวณปลายสุดของแท่งแม่เหล็ก
ถ้าเรานำแท่งแม่เหล็กทั้ง 2 แท่งเข้าใกล้กัน โดยหัวขั้วเดียวกันเข้าหากัน จะเกิดการผลักกัน และถ้าหันขั้วต่างกันเข้าหากัน จะเกิดการดูดกัน
ประโยชน์ของแม่เหล็ก
แม่เหล็กมีแรงดึงดูดวัตถุบางชนิด วัตถุนั้น เรียกว่าวัตถุสื่อแม่เหล็ก หรือสารแม่เหล็ก การประดิษฐ์แม่เหล็กขึ้นมาและนำไปเป็นส่วนประกอบของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- ติดบริเวณขอบประตูตู้เย็น โดยใช้แผ่นยางหุ้มเพื่อให้ตู้เย็นปิดสนิท ป้องกันไม่ให้ความเย็นลอดออกจากตู้เย็น
- ติดที่ฝากล่องหรือฝากระเป๋า
- ติดป้องกันประตูกระแทก
- ใช้คัดแยกวัตถุสื่อแม่เหล็กออกจากวัตถุอื่นๆ
- ใช้ทำเข็มทิศเพื่อค้นหาทิศทาง
- ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด แรงไฟฟ้า
เราเคยสังเกตเวลาหวีผมในช่วงฤดูหนาวหรือไม่ว่า หวีพลาสติกที่เราใช้นั้น สามารถดูดเส้นผมของเราได้ หรือ เสื้อผ้าที่เราสวมใส่มักติดตามร่างกายของเรา ที่เป็นเช่นนี้เพราะ มีแรงธรรมชาติชนิดหนึ่งเกิดขึ้น จึงทำให้หวีดูดเส้นผมของเรา แรงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต
แรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมีทั้งแรงดูดและแรงผลัก เช่นเดียวกับแรงแม่เหล็ก