สวัสดีค่ะ ^_^ เพื่อนๆ และทุกๆคน
วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของแอพพลิเคชั่นยอดฮิตอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ “Twitter” นั่นเอง หลายๆคนใช้ทวิตเตอร์เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ในอ่านอ่านบทความ หรือคำคมต่างๆ แต่วันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าทวิตเตอร์สามารถใช้ในการเรียนรู้ได้เหมือนกันค่ะ
การประยุกต์ใช้งาน Twitter เพื่อการเรียนการสอน
- ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน
จากการจัดอันดับของเครื่องมือสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปีพ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้
- ทวิตเตอร์ทำให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
- ทวิตเตอร์ช่วยทำให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการสนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี
- ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ยาวเกินความจำเป็น
- มีแอพที่ทำให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิเตอร์โดยอัตโนมัติ
- สามารถส่งข้อความเป็นแบบ SMS ได้ฟรีถึง 13,000 Message ต่อปี
- สามารถส่งข้อความผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ ในGPRS
- การเขียนข้อความใน Twitter ของเราเองในเว็บไซต์
เราสามารถประยุกต์ใช้ Twitter ในการเล่าบรรยากาศการประชุมสัมมนา ประเด็นต่างๆ ที่บรรยาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือ การประกาศข่าวสารต่างๆ ด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของ Twitter ข้อความต่างๆ จะถูกกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เพราะข้อความที่สั้นและเข้าใจง่าย ทำให้ Twitter เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ใช้ ทั้งในกลุ่มบุคคลธรรมดา นักเรียน นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักแสดง นักร้อง นักการตลาด องค์กร ร้านค้าต่างๆ นักข่าว ข้าราชการ นักการเมือง หรือแม้กระทั่งบุคคลสำคัญระดับประเทศ ดังตัวอย่างบุคคล เช่น @BarackObama @apirak_news @QueenRania @KornDemocrat @abhisit @mark_abhisit @PM_Abhisit เป็นต้น
เรามาดูข้อดีของทวิตเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนกันบ้างดีกว่านะคะ
- ข้อดีของทวิตเตอร์
- สามารถใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อการสื่อสารถึงกิจกรรมการเรียนการสอน
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับระดมความคิดเห็นและการสื่อสาร
- สามารถเป็นช่องทางสำหรับฟังความคิดเห็น โดยนักเรียนสามารถส่งคำถาม ความคิดเห็น หรือข้อสังเกตเข้าไปเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาลัย ประเทศที่ห่างกันได้
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประชุม สัมมนา การนำเสนอความคิดจากคนหมู่มาก ที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถใช้เป็นห้องเรียนเสมือนสำหรับการอภิปรายแสดงออกทางความคิด
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือการคันพบแหล่งความรู้ใหม่ๆ
- สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก : Gotoknow
พูดถึงข้อดีกันไปแล้ว ทีนี้ถ้ามีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเป็นของคู่กันอยู่แล้ว เรามาดูขอเสียกันบ้างดีกว่า
- ข้อเสียของทวิตเตอร์
- เป็นแอพที่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการอ่านข้อมูลข่าวสารในกรณีที่มีผู้อยู่ในเครือข่ายมาก
- ข้อมูลที่ปรากฏในระบบจะถูกทับด้วยข้อมูลใหม่อย่างรวดเร็วและคงอยู่ในระบบในระยะเวลาจำกัดประมาณ 15 วัน
- ผู้เรียนอาจไม่สนใจในเนื้อหาที่ผู้สอนมอบให้โดยการใช้ทวิตเตอร์เพื่อการแชทระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน
- หากไม่จัดสรรเวลา ผู้เรียนอาจมีการเสพติดเทคโนโลยีได้
- ผู้เรียนอาจไปก้าวก่ายในชีวิตส่วนตัวของผู้สอนได้โดยการโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสมเข้าไปในระบบ
- อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างข่าวลือ
- บางครั้งข้อจำกัด 140 อักขระ นำไปสู่การสื่อสารด้านการเขียนที่ผิดไวยากรณ์
- อาจเป็นแหล่งที่มาของการสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายในการซื้อคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การสื่อสาร และค่าบริการอินเตอร์เน็ต
ทั้งหมดนี้คือข้อดีข้อเสียและการนำทวิตเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละวิชาแต่ละสไตล์ของผู้สอนด้วยนะคะสำหรับการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อการเรียนรู้
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://gear.kku.ac.th/~krunapon/research/pub/twitterforLearning.pdf