Waterfall Model
เป็นแบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบในรูปแบบน้ำตก เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันในอดีต มีหลักการเสมือนกับน้ำตกซึ่งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ ในแต่ละขั้นตอนไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขขั้นตอนที่แล้วได้ เหมาะสำหรับระบบที่มีการจัดการที่แน่นอน และในปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานสามารถที่จะวนหรือย้อนกลับไปแก้ไขได้ หรือที่เรียกว่า Adapted Waterfall
เปรียบเทียบรูปแบบการทำงานของ Waterfall และ Adapted Waterfall
รูปแบบกระบวนการทำงานแบบ Waterfall
รูปแบบกระบวนการทำงานแบบ Adapted Waterfall
ขั้นตอนการทำงานของ Waterfall
ขั้นตอนการทำงาน อาจจะมี 5-6 ขั้นตอน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามขอบเขตของการทำงาน โดยมีตัวอย่างขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนของการวางแผนการทำงาน
- ระบุหัวข้อในการทำงาน หรือความต้องการของผู้ใช้
- ระบุผู้ที่รับผิดชอบงาน
- ระบุระยะเวลาในการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนของการออกแบบงาน
- ทำการออกแบบในส่วนที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบ
- นำงานที่เราออกแบบไว้ในแต่ละส่วน มาทำเป็นตัวชิ้นงาน
- เชื่อมต่องานในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการทดสอบระบบ
- นำงานที่เราพัฒนาแล้วมาทดสอบ
- บันทึกการทดสอบในแต่ละครั้ง
- ตรวจสอบความผิดพลาด
ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการนำไปใช้
- ส่งมอบให้กับผู้ใช้
ข้อดีของ Waterfall Model
-คือมีการสร้างเอกสารในทุกๆ ขั้นตอนหรือทุกระยะ
-ดำเนินงานที่ละขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้ง่าย
-ขอบเขตงานชัดเจน
-เหมาะกับระบบขนาดเล็ก ไม่ซับซ้อน
ข้อเสียของ Waterfall Model
-ผู้ใช้ได้เห็นระบบเมื่อผ่านขั้นตอนการพัฒนาไปแล้ว ทำให้กลับมาแก้ไขได้ยาก
– ไม่สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
-ต้องมีการวางแผนที่ดี
***เนื่องจากการทำงานแบบ Waterfall เมื่อมีข้อผิดพลาดในส่วนใดส่วนหนึ่ง จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ เราสามารถนำวีธีการ Adapted Waterfall มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ระบบของเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสร็จสมบูรณ์
ศึกษาความแตกต่างของการใช้ Waterfall Model กับ Agile Model