Service Transition (ST)
Service Transition (ST) หรืองานส่งมอบบริการ เป็นหนึ่งใน 5 แกนหลักของ ITIL จะเป็นส่วนที่สามที่นำข้อมูลจากส่วน Service Design มาทำแผนส่งมอบบริการใหม่หรือปรับเปลี่ยนบริการเดิม
กระบวนการสำคัญในส่วนนี้คือ
1.Transition Planning and Support (TPS)
Transition planning and support (TPS) คือ ขั้นตอนที่รวมไปด้วยการวางแผนและการประสานงานสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบงานบริการจุดประสงค์(Purpose)
ขอบเขตของ Transition planning and support (TPS)
– รักษานโยบาย รูปแบบ และมาตราฐานของกิจกรรมและกระบวนการในการส่งมอบงานบริการ
– จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสำหรับทรัพยากรการส่งมอบงานบริการ
– วางแผนงบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการส่งมอบงานในอนาคต
– สร้างความมั่นใจว่าฝ่ายการส่งมอบงานประสานงานกับทุกแผนกอย่างชัดเจน
2.Service Assets & Configuration Management
Service Assets คือการให้บริการสำหรับผู้ให้บริการทางด้านไอที โดยใช้ทรัพย์สินของตัวเองเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินทรัพย์ของลูกค้าและการสร้างมูลค่าให้กับองค์กร
ในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริการที่ประสบความสำเร็จจะต้องเกิดขึ้นจากความเข้าใจในสินทรัพย์บริการที่สามารถนำไปสู่การบริการได้
ภาพ:วิธีที่เราสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าโดยใช้ทั้งสินทรัพย์ของผู้ให้บริการและทรัพย์สินของลูกค้า
Automating the Service Management Process (กระบวนการจัดการบริการ) คือ กระบวนการทางธุรกิจโดยอัตโนมัติช่วยให้ประโยชน์และการรับประกันมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้นจากการบริการและสินทรัพย์ของลูกค้า
1.การตรวจสอบและการจัดการความซับซ้อนและปริมาณที่สูงโดยไม่คำนึงถึงเวลาหรือ สถานที่
2.การแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ช่วยให้เราสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆได้รวดเร็ว
3.ระบบค้นพบที่สามารถรักษาระบบการจัดการการกำหนดค่าที่ทันสมัยและระบุและจัดการกับปัญหาในการควบคุมที่หลากหลาย
4.การสร้างแบบจำลองอย่างพิถีพิถันทำให้สามารถออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน
5.ปัญญาประดิษฐ์สามารถนำเสนอช่วงของความสามารถจากการวิเคราะห์สาเหตุรากผ่านระบบเตือนภัยและการควบคุมที่ซับซ้อนเพื่อการจัดตารางเวลาที่ซับซ้อนและการจัดการทรัพยากร
6. ระบบการจัดการงานปรับปรุงการบริการลูกค้าและประสิทธิภาพในช่วงของกระบวนการ
Configuration Management คือ การมีกระบวนการที่มีแบบแผน (Consistent) และถูกนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง (Repeatable) เพื่อบริหารข้อจำกัดของโครงการในด้านขอบเขตงาน เวลา และคุณภาพ ดังนั้น Configuration Management (CM) จึงเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารสิ่งที่ต้องส่งมอบหรือเอกสารที่สำคัญ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและควบคุมผลการดำเนินงาน ให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงสามารถติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้
การบริหารจัดการ Configuration ในโครงการมี 3 ส่วน ดังนี้
1.Configuration Identification เป็นการคัดเลือกและระบุงานหรือเอกสารของโครงการที่สำคัญ เพื่อนำมาบริหารจัดการภายใต้กระบวนการของ Configuration Management โดยเรียกงานหรือเอกสารที่ถูกเลือกว่า Configuration Item หรือ CI การเลือกงานหรือเอกสารที่จะนำมาบริหารจัดการนั้น อาจเป็นงานหรือเอกสารที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับสมาชิกในโครงการมาก งานหรือเอกสารเหล่านี้จะถูกตั้งชื่อตามรูปแบบที่กำหนด Naming Convention มีการทำ Baseline และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง มีการทำ Version Control เก็บประวัติการเปลี่ยนแปลง และมีการมอบหมายผู้ดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2.Configuration Status Accounting (CSA) เป็นการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ CI และนำออกจากระบบเพื่อใช้ในการทำงาน รวมถึงการจัดทำรายงานเพื่อใช้ในการตรวจสอบ
3.Configuration Verification and Audit (CVA) เป็นการตรวจสอบว่ากระบวนการจัดการ CI ของโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่างานหรือเอกสารของโครงการได้รับการจัดเก็บ บันทึก อนุมัติ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าซึ่งรวมถึง Change Request ที่ได้รับการอนุมัติด้วย โดยการตรวจสอบ CI นี้จะทำตั้งแต่งานหรือเอกสารชิ้นแรก จนกระทั้งชิ้นสุดท้ายที่จะทำการส่งมอบให้ลูกค้า รวมถึงทุกครั้งที่มีการทำ Baseline และปรับเปลี่ยน Baseline โดยทีมงาน Project Audit จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบว่า งานหรือเอกสารที่เป็น CI ได้รับการบริหารจัดการตามกระบวนการของ Configuration Management อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ และมีการจัดทำรายงานเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบหรือคำแนะนำในกรณีที่พบข้อบกพร่องในกระบวนการ
เป้าหมายของCM (configuration management)
1.ระบุและบริหารส่วนต่างๆ ของซอฟต์แวร์
2.ควบคุมการเข้าถึงและเปลี่ยนแปลงกับส่วนต่างๆ
3.ยอมให้สร้าง version ใหม่จากซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ (อนุมัติ)
3.Change Management (CHM)
ChangeManagement(CHM) คือ กระบวนการควบคุม และจัดการกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ ฮารด์แวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เอกสารคู่มือการใช้งาน เอกสารสัญญาการให้บริการ เอกสารข้อตกลง ระดับการให้บริการ ข้อมูล CIใน CMDB และกระบวนการทํางานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดย Change Management(CHM) ทำหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัติคำร้องขอการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งคอยควบคุมให้การดำเนินการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ (การดำเนินการเปลี่ยนแปลงเป็นหน้าที่ของกระบวนการRelease Management) รวมถึงการทบทวนผลของการดำเนินการเปลี่ยนแปลงว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และต้องทำการปรับปรุงอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 5 ประเภทหลักๆ
1.Normal Change – การเปลี่ยนแปลงแบบปกติที่ต้องได้รับการประเมินผลกระทบ และอนุมัติโดย Change Advisory Board (CAB) ก่อนดำเนินการ
2.Major Change – การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งต้องใช้ทรัพยากร งบประมาณ และเวลาในการดำเนินการยาวนาน หรือมีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคคลและอุปกรณ์จำนวนมาก และอาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร การเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ ต้องได้รับการประเมินผลกระทบ และอนุมัติโดย Change Advisory Board (CAB) ก่อนดำเนินการ
3.Minor Change – การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่ CAB ได้มอบอำนาจให้แก่Change Manager เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
4.Emergency Change – การเปลี่ยนแปลงที่ต้องได้รับการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เช่น กาแก้ไข Major Incident เป็นต้น
5.Standard Change – การเปลี่ยนแปลงที่ได้รบการอนุมัติไว้ล่วงหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ อยู้นอกเหนือการควบคุมของกระบวนการ Change Management (การเปลี่ยนแปลงประเภท Standard Change เช่น การติดตั้งซอฟต์แวร์มาตราฐานลงบนเครื่องโน๊ตบุ๊คที่ใช้งานภายใน องค์กร ซึ่งอยู่ในกระบวนการ Incident Management)
กระบวนการ Change Management มีประโยชน์ต่อองค์กรดังต่อไปนี้
– ช่วยลด/ป้องกันการเกิดincidentและ problem อันเนื่องมาจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่
ผิดพลาด
-ช่วยยกระดับการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถปรับปรุงบริการให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจขององค์กรในปัจจุบันและอนาคตได้
–ช่วยให้ทรายถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Implment Change ในแต่ละครั้ง และสามารถเตรียมแปนการแก้ไข (Back–out plan) ไว้ล่วงหน้า
-ช่วยให้สามารถประเมินค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Implment Change )ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และสามารถนำข้อมูลของค่าใช้จ่ายนั้น นำไปประกอบการจัดสินใจ อนุมัติ/ไม่อนุมัติ การดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลและรายงานผลการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับบริการที่ตนได้รับ
–ผู้บริหารได้รับข้อมูลและรายงานผลการดำเนินการเปลี่ยนแปลง ที่จำเป็นต่อการประเมินผลและปรับปรุงการให้บริการ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Change Management ได้แก่
4.Service Validation & Testing
Service Validation & Testing คือ การตรวจสอบและการทดสอบสำหรับสิ่งที่เป็นความต้องการของลูกค้าหรือเป็นการตรวจสอบที่เป็นส่วนช่วยในการทำงานให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของ Service Validation & Testing
1.วางแผนดำเนินการตรวจสอบกระบวนการทดสอบที่มีหลักฐานหรือโครงสร้างว่าจะเป็นการสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าภายในสิ่งที่ตกลงกับลูกค้าเอาไว้และเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
2.ให้การรับประกันคุณภาพของสิ้นค้าว่าจะมีการแก้ไขปัญหาและให้ความรู้ในเรื่องของสิ้นค้านั้นๆ
3.มีการระบุความเสี่ยงของปัญหาและข้อผิดพลาดต่างๆและจะมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆ ตลอดการทดสอบ
ขั้นตอนการทำงานของ Service Validation & Testing
ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของ service Validation & Testing
Test Management – การวางแผนการทำงานจะเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของการบริการ จะเชื่อมโยงทรัพยากรต่างๆกับแหล่งข้อมูล การสนับสนุนบริการ และการจัดลำดับความสำคัญการส่งมอบและการยอมรับ
Plan and Design tests & Verify test plan and test designs – การตรวจสอบการทดสอบและการออกแบบ จะออกแบบและทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ และโมเดลทดสอบจะต้องได้รับการยืนยันเพื่อลดความเสี่ยงในการบริการ
Prepare test environment – การเตรียมการและการสร้างมาตราฐานสำหรับการทดสอบ
Perform test – การทดสอบจะดำเนินการการทดสอบด้วยตยเองหรืออัติโนมัตก็ได้ผลลัพธ์ที่ได้จะจัดเก็บและนำไปใช้ประโยชน์ได้
Evaluate exit criteria and report – การประเมินเกณฑ์และการรายงาน ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจะเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้
Test clean up and closure – เป็นการล้างข้อมูลการทดสอบและมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ก่อนหน้านี้เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำหรับการแก้ไขครั้งต่อไป
5.Knowledge Management (KM)
Knowledge Management (KM) คือ การจัดการความรู้โดยการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่างๆเหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
Knowledge สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1.Tacit Knowledge – ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคคล เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ ซึ่งความรู้พวกนี้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาได้
2.Explicit Knowledge – ความรู้ที่ได้มาจากทฤษฏี หรือคู่มือต่างๆที่สามารถที่จะเข้าถึง หรือเรียนรู้ได้และสามารถที่จะถ่ายทอดผ่านวิธีการต่างๆได้
Knowledge Management ช่วยแก้ปัญหา
1.เมื่อมีการลาออกของบุคลากร
2.เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถที่จะหาผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นได้
3.บุคลากรบางคนมีความรู้มาก แต่คนอื่นๆ กลับไม่ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ หรือสอบถาม
4.ไม่มีการต่อยอดความรู้ในองค์กร
5.เกิดความล่าช้าในการค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ล้าสมัย
6.ความรู้ต่างๆในองค์กรมีมาก แต่ไม่มีความสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ภาพแสดงองค์ประกอบของ Knowledge Management
วิธีการทำ Knowledge Management ในองค์กร
1.ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าสิ่งที่องค์กร์ต้องการจากการจากการจัดการความรู้คืออะไร ซึ่งพิจารณาจากยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือเป้าหมาย
2.เมื่อได้เป้าหมายแล้วต้องวางแผนและกิจกรรม ที่เรียกว่า วงจรการจัดการความรู้ประกอบไปด้วย
-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปันและการเรียนรู้
-การสื่อสารทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจว่า ทำอะไร เพื่ออะไร ทำเมื่อไร และทำอย่างไร โดยสื่อสารอย่างต่อเนื่องจนการแลกเปลี่ยนความรู้
-กระบวนการและเครื่องมือ ซึ่งกระบวนการ KM Process ส่วนนี้เป็นแกนหลักของการจัดการความรู้ ทั้งหมด
-การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ให้กับคนในองค์กร
-การวัดผล การดำเนินการตามแผน ผลผลิตที่ได้และผลภัณฑ์
-การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
3.จัดทำ KM Process ซึ่งมี 7 ขั้นตอน คือ
1.บ่งชี้ความรู้เป็นการค้นหาว่า ความรู้ที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย คืออะไร อยู่ที่ใคร ยังขาดความรู้อะไร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ก่อนนำเข้าสู่ระบบจะต้องปรับปรุงเนื้อหา การใช้ภาษาให้เป็นภาษาเดียวกันรวมทั้งรูปแบบของข้อมูล เพื่อความสะดวกในการป้อนเข้าสู่ระบบ
5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ เป็นการจัดให้มีช่องทางการถ่ายเทความรู้ จากผู้รู้ทั้งที่เป็น Tacit และ Explicit Tacit
7.การเรียนรู้ (Learning) เมื่อความรู้ขององค์กรมีการนำไปใช้จนเกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่ กลับมาให้องค์กร โดยแลกเปลี่ยนแบ่งปันให้ผู้อื่นนำไปใช้อีก การเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดองค์ความรู้ขององค์กรเพิ่มขึ้น
6.Deployment Management (DM)
Deployment Management คือ กระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการ Change Management คือรับผิดชอบในการ สร้าง (Build), ทดสอบ (Test) และ ติอตั้ง (Deployment) งานบริการใหม่หรืองานบริการที่ถูกปรับปรุง และการนำเอาขีดความสามารถของ Service ออกมาใช้ภายใต้มาตรฐาน Service ที่ได้ถูกออกแบบไว้
จุดประสงค์ของการวางจำหน่ายและการปรับการบริหารจัดการคือการรักษาความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมการผลิตขององค์กรเมื่อปรับใช้เผยแพร่ วางจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและกระบวนการปรับใช้ช่วยให้องค์กรที่ให้บริการ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดให้กับธุรกิจ มีความสอดคล้องในแนวทางการดำเนินงานและมั่นใจว่าลูกค้าจะสามารถใช้บริการใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ
เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบริการการเปลี่ยนของการให้บริการ เป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนการจัดตารางเวลาและการควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงจากการทดสอบ ทำให้ความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่อยู่ได้รับการคุ้มครองและส่วนประกอบที่ถูกต้องถูกปล่อยออกมา ในขณะที่การปรับใช้รวมถึงกิจกรรมหรืองานที่รับผิดชอบในการย้ายใหม่หรือเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์เอกสารและขั้นตอนการไปยังสภาพแวดล้อมที่อยู่
กระบวนการนี้จะควบคุมดูแลโดยผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการเปิดตัวและสมาชิกเป็นที่ต้องการของทีม ผู้จัดการที่วางขั้นตอนโดยใช้ข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอเพื่อช่วยประเมินความพร้อมการเปิดตัวและให้มีประสิทธิภาพการระบุเป้าหมายการใช้งานสำหรับขั้นตอนการใช้งานของการปล่อย ระดับของการควบคุมนี้รับประกันการจัดการที่วางจำหน่ายสามารถส่งมอบการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่ประสบความสำเร็จกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเวลา ต้องมีความสามารถในการที่จะยกระดับความสัมพันธ์ของแผนที่กำหนดไว้ภายใน
7.Evaluation
Evaluation เป็นกระบวนการใหม่ โดยเน้นประสิทธิภาพของการให้บริการว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ และเป็นกระบวนการตรวจสอบและตัดสินใจเกี่ยวกับปัจจัยการดำเนินงานและผลการดำเนินขององค์กร เพื่อเป็นสารสนเทศ สำหรับการปรับปรุงและสรุปผลสำเร็จขององค์กรและการพัฒนาองค์กรต่อไป มีการติดตามและประเมินกลไกเพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารและพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จุดมุ่งหมายของ Evaluation เพื่อตัดสินความเหมาะสมของการดำเนินงานและการบรรลุผลสำเร็จขององค์กร
ประโยชน์ของ Evaluation
– เสนอแนะการปรับเปลี่ยน ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อที่จะได้ผลตามเป้าหมาย
– สรุปผลสำหรับการตัดสินใจขององค์กรหรือวางแผนการจัดการองค์กรให้ดีขึ้นในอนาคต
Assignment 2 อธิบายและสาธิต ITIL v3 กระบวนการ Service Transition
จัดทำโดย
นางสาวลักษณาพร บุญชิต 1580901765(Transition Planning & Support )
นายติณณภพ ปิยะกุลวรวัฒน์ 1580900395 (Service Assets & Configuration Management )
นางสาวปาริชาติ หนาสมัย 1580900635 (Change Management)
นายกฤติน ภักดีมหาคุณ 1580900338 (Service Validation & Testing)
นางสาวอรณิช ทรัพย์มณี 1580900296 (Knowledge Management)
นางสาวภวิษย์พร กิจพัฒนาสมบัติ 1580000288 (Deployment Management)
นางสาวสุชีรา วนัสบดีกุล 1580900866 (Evaluation)
เสนอ
อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่
วิชา IE.412 การจัดการสารสนเทศและบริการ
สาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
—————————————————–
ASSIGNMENT 2 ITIL v3 – SERVICE TRANSITION
SUBMITTED BY
Luksanaporn boonchit 1580901765 (Transition Planning & Support )
Tinnapob Piyakulworawat 1580900395 (Service Assets & Configuration Management )
Parichat Nasamai 1580900635 (Change Management)
Krittin Pakdeemahakun 1580900338 (Service Validation & Testing)
Oranit Sapmanee 1580900296 (Knowledge Management)
Pawitporn Kitpatanasombat 1580000288 (Deployment Management)
Susheera Wanusaboodeekul 1580900866 (Evaluation)
PRESENT
TODSAPON BANKLONGSI
IE412 INFORMATION AND SERVICE MANAGEMENT
DEPARTMENT OF MULTIMEDIA AND INTERNET SYSTEMS ENGINEERING
SCHOOL OF ENGINEERING
BANGKOK UNIVERSITY
SEMESTER 1 YEAR 2018