ITILv3 แบ่งออกเป็น 5 มาตรฐานนะครับ โดยที่มันสามารถนำมาใช้กับ องค์กรต่างๆนะครับ
หรือธุรกิจทุกประเภท ให้สามารถเข้าใจ กันได้โดยง่าย นะครับ
โดยเน้นคำว่า “แนวทางปฏิบัติอันโดนเน้นคำว่าเป็นเลิศ หรือ Best Practice”
ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง 1 มาตรฐานนั้นก็คือ STRATEGY โดยในหัวข้อนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วนนั้นก็คือ
การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) การจัดการด้านการเงินกับการให้บริการทางด้านไอที และจัดการงบประมาณทางด้านการบัญชี เพื่อรองรับการจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยวางแผนทางการเงิน
ให้กับองค์กรได้เช่น การวางแผนการสั่งซื้ออุปกรณ์การบริหารทรัพย์สินทางด้านไอทีและ ทรัพยากรที่ถูกใช้ในการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้บุคลากรในองค์กรหรือลูกค้าได้และ เพื่อให้มีการวางแผนการลงทุนอย่างแม่นยาและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. การตัดสินใจลงทุนรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (เรียกว่า Capital budgeting) การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการลงทุนที่เรียกว่าการทำงานด้านการตัดสินใจลงทุนเช่นเดียวกัน และจะมีความสำคัญๆ อย่างมากสำหรับบริษัท หรือ องค์กรที่มีเงินสดเยอะๆ ในแต่ละเดือน หรือ ไตรมาส แต่เป็นเงินสดแบบหมุนเวียนเร็ว การบริหารงานแบบลงทุนระยะสั้น จะมีความสำคัญๆ อย่างมาก
2. การตัดสินใจทางการเงิน จะเป็นการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ และค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของเงินทุนที่ใช้ในการบริหาร เช่น เป็นเงินกู้ระยะยาว หรือ ระยะสั้น หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดหวังที่จะได้รับ เป็นต้น
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน ผู้จัดการฝ่ายการเงินมีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการกระจายการลงทุน และการบริหารผลกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนเหล่านั้น ซึ่งกำไรสุทธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
– เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น และ อัตราการจ่ายเงินปันผลจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และเป็นธรรม
– กำไรสะสมขององค์กร จะต้องพิจารณาให้มีปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอสำหรับการวางแผนการขยายงานในอนาคตขององค์กร หรือ บริษัท โดยจะต้องมีการพิจารณาร่วมกับฝ่ายการตลาด ฝ่ายการผลิต และ ผู้บริหารระดับสูง
วัตถุประสงค์ของการจัดการทางการเงิน
การจัดการทางการเงินมักจะมีความกังวลโดยทั่วไปเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุน เช่น การกู้ยืม หรือ การควบคุมการใช้จ่ายของเงินทุน ซึ่งสามารถแบ่งวัตถุประสงค์การจัดการทางการเงินออกเป็น ดังนี้
1. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า คุณมีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจหรือบริหารงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
2. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ เข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผลตอบแทนด้านเงินปันผลที่เพียงพอและคุ้มค่ากับการลงทุน
3. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า การลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ กิจการต่างๆ ภายในองค์กร และบริษัทฯ เป็นไปอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการเบิกจ่ายเงินไปใช้
4. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า เงินทุนที่มีอยู่ถูกใช้ในธุรกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามมาตรฐานการลงทุนทางการเงิน และได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า แผนการลงทุนต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์อย่างยากเย็นแสนเข็ญ ได้ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ และได้รับผลตอบแทนคุ้มกับการวางแผนไว้ล่วงหน้า มีความถูกต้องแม่นยำ หรือ มีความผิดพลาดในส่วนใด จะได้นำกลับมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการวางแผนทางการเงินในครั้งต่อๆ ไป
การจัดการด้านกลุ่มผลงานจากการบริการ หรือเรียกว่า (Service Portfolio Management) นะครับ เป็นกระบวนการที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการงานบริการด้านต่างๆครับ เช่น บริการที่มีการวางแผนการให้บริการไว้และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารแล้วหรือง่ายๆ คือ ผ่านผู้บริหารแล้วครับ ยังมีบริการที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันและบริการที่หยุดให้บริการไปแล้ว อาจรวมถึงการดูแลทางด้านการลงทุนในการจัดการบริการที่มีรูปแบบไม่คงที่ตามโครงสร้างภายในองค์กรและการจัดการมูลค่า จะทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นมากเลยแหละครับ
การจัดการด้านกลุ่มผลงานจากการบริการมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในโลกของ cloud ที่ เร็วและคล่องตัวเป็นอย่างมากครับผม
ในหัวข้อถัดมา (Strategy Generation) หรือว่า การสร้างกลยุทธ์
โดยในกระบวนการนี้เป็นการ มุ่งเน้นไปที่การหาโอกาสทางการตลาด
หรือช่องทางในการให้บริการโดยปรับปรุงบริการ
ที่มีอยู่เดิมหรือทำความเข้าใจวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ธุรกิจกำลังประสบอยู่และนำเสนอ
บริการใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจได้นะครับ
เพื่อให้ฝ่ายบริการทราบเหตุผลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการบริการงานด้านไอทีมีการสำรวจ
ยุทธศาสตร์การกำหนดวัตถุประสงค์ วิเคราะห์คู่แข่ง เป็นต้น นะครับเพื่อให้ไอทีกลายเป็น
เครื่องมือทางกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้นะครับ
การจัดการด้านความต้องการ (Demand Management) เป็น
กระบวนการในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อความต้องการของ
งานบริการและยังรับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางด้านไอทีให้สามารถ
ตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Assignment 2 – ITIL V3 STRATEGY (การกำหนดเป้าหมายและวิธีการเดินหน้าสู่เป้าหมาย)
จัดทำโดย
นายพชรพล กมลวาทิน 1580900403 (Financial Management)
นายปวเรศ วศินอนุรักษ์ 1580900361 (Service Portfolio Management)
นายจิรสิน ฤดีเกียรติธำรง 1580900890 (Strategy Generation)
นายสยาม แซ่ฉั่ว 1580900098 (Demand Management)
เสนอ
อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่
วิชา IE.412 การจัดการสารสนเทศและบริการ
สาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
—————————————————–
ASSIGNMENT 2 – ITIL V3 STRATEGY (Goals and How to get there)
SUBMITTED BYฟ
Pacharapon Kamolvathin 1580900403 (Financial Management)
Porvaret Vasinanurak 1580900361 (Service Portfolio Management)
Jirasin Rudeekiatthamrong 1580900890 (Strategy Generation)
Siam Sae-chua 1580900098 (Demand Management)
PRESENT
TODSAPON BANKLONGSI
IE412 INFORMATION AND SERVICE MANAGEMENT
DEPARTMENT OF MULTIMEDIA AND INTERNET SYSTEMS ENGINEERING
SCHOOL OF ENGINEERING
BANGKOK UNIVERSITY
SEMESTER 1 YEAR 2018