รถส่งของแบบ D.I.Y ที่เด็กๆอย่างเราก็ทำได้…… ส่งของแบบไม่ต้องเดินให้เหนื่อย วิธีทำก็ไม่ยาก ลองเข้ามาศึกษากันดูนะคะ
เพื่อนๆจะไม่ต้องเดินไปมา ให้หนื่อยอีกต่อไปด้วยเจ้า Smart Box อันนี้ วิธีทำก็ไม่ยาก อุปกรณ์หาได้ง่ายใน เวบไซต์ขายอุปกรณ์ Arduino หรือร้านขายอุปกรณ์ Arduinoใกล้บ้านเพื่อนๆค่ะ วันนี้จะพาไปทำ Smart Box แบบ D.I.Y ทำง่ายใช้งานสะดวก ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แถมยังได้ฝึกทักษะของเพื่อนๆได้อีกมากมายเลยค่ะ
มาเริ่มกันเลยจ้าา….. มาทำความรู้จักกับเจ้า Smart Box กันก่อนเลย
บทนำ
ในบางครั้งการขนส่งที่ต้องใช้มนุษย์นั้น สามารถทำได้ยากลำบากในบางสถานการณ์ จึงต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะสามารถช่วยลดแรงงานของมนุษย์ และรวมถึงช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
การขนส่งนั้นเมื่อเป็นสิ่งของที่มีมากเกินกำลังที่มนุษย์จะส่งไหว จึงต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย เช่น รถ AGVหรือเรียกกันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และนำทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถAGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโครคอนโทรลเลอร์ และประโยชน์ที่ได้จาก รถAGV คือ
- เพื่อลดการเข้า-ออกของพนักงานขับรถขนส่ง
- เพื่อลดความล่าช้าจากการขนส่ง Part เนื่องจากการจราจรที่ติดขัด
- เพื่อลดความความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานขนส่ง
- เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถขนส่งที่มีจำนวนมาก
ดังนั้น กลุ่มของเราจึงสร้าง กล่องอัจฉริยะ (Smart Box) นี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ที่สามารถทำให้เกิดความสะดวกสบาย โดย เมื่อเราต้องการจะส่งของไปยังอีกที่หนึ่ง ก็เพียงแค่สร้างเส้นที่ดำที่มีความหนาและมองเห็นชัด ให้กับรถ จากนั้นก็นำของที่ต้องการส่งใส่ไว้ในกล่องที่เปิด-ปิดได้เอง โดยใช้ประโยชน์จากUltrasonic ที่เมื่อมีวัตถุเข้าใกล้ก็จะทำงานและส่งไปยัง Servo เพื่อให้เปิด – ปิด ฝากล่อง
จากนั้นเราก็หันหัวรถไปที่ปลายทาง รถก็จะทำงานโดยจับสีดำและวิ่งตามเส้นไปจนถึงปลายทาง กลุ่มเราเล็งเห็นแล้วว่ามีประโยชน์อย่างมากในอนาคต ในด้านอุตสาหกรรม หากนำไปต่อยอดต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาการขนส่งด้วยมนุษย์ ให้กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถขนส่งได้หลากหลายอย่างและสามารถขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไปด้วย
- เพื่อเรียนรู้ระบบการทำงานของ Arduino Car และ Ultrasonic
- เพื่อประหยัดเวลาในการเดินไปส่งของทีละหลายรอบ
- เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับระบบโลจิสติกส์ในอนาคต
รายละเอียดของการพัฒนา
ทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้อง
กล่อง หมายถึงบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่ง ปกติจะมีรูปทรงเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่ก็อาจพบในรูปทรงอื่นได้ กล่องทั่วไปทำจากกระดาษ ไม้หรือพลาสติก เป็นต้น สามารถเปิดได้โดยการยก ดึง หรือเลื่อนฝาด้านบน และปิดผนึกได้ด้วยเทปกาว แม่กุญแจ หรือตะปู กล่องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถ่ายทอดรูปแบบมาจากหีบโดยตรง กล่องบางชนิดได้รับการตกแต่งจนสามารถใช้เป็นเครื่องเรือนภายในบ้านได้
ระบบเปิด –ปิด เองของฝากล่อง
อัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์หน้าที่และการทำงาน รูปแบบต่าง ๆ ของอัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ประกอบด้วย ตัวตรวจจับด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค, ชุดส่งสัญญาณ, ชุดประมวลผลและชุดเอ้าท์พุท
รูปที่ 1 หลักการทำงานของอัลตร้าโซนิค
มักจะใช้เป็นภาครับและภาคส่ง อาจมีระบบซึ่งประกอบด้วยส่วนหลักๆ แยกกันอยู่ 2 ส่วน ในระหว่างการทำงาน เซ็นเซอร์จะทำการส่งสัญญาณเสียงซึ่งเรียกว่า “ซาวด์พาร์เซลส์” (Sound parcels) ให้ขบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของเวลาทำงานไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการรับการสะท้อนครั้งแรกเกิดขึ้น
วงจรส่งผ่าน / รับ
สำหรับการทำงานเป็นวงจรของอัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ จะส่งผ่านคลื่นพัลซ์เสียงที่ช่วงเวลาสม่ำเสมอหรือช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลง คลื่นเสียงที่ปล่อยออกไปจะถูกสะท้อนได้โดยวัตถุที่เหมาะสม โดยเซ็นเซอร์และระบบการทำงานจะรับการสะท้อนของคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมา (ดังแสดงในรูป)ความกว้างของคลื่นพัลซ์ของเสียงอยู่ในช่วง 2.-200 ไมโครเซท
รูปที่ 2 อัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ วงจรส่งผ่าน/รับ
วงจรส่งผ่าน / รับ
เวลาในการเดินทางของคลื่นพัลซ์ของคลื่นเสียงเป็นการวัดระยะห่างจากวัตถุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซ็นเซอร์ ระยะห่างนี้นำไปแสดงในรูปของสัญญาอนาล็อก (Analog Signal) (เช่น 0-20 mA) สัญญาณลอจิก (Logic Signal) (เช่น สัญญาณลอจิก 8 bit) ตลอดทั้ง ซีเรียลอินเตอร์เฟส (Serial Interface) (RS232) หรือการเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงในรูปของสวิสซ์พัลซ์ที่เรียกว่า ไทม์เฟรม (Time Frame)
เนื่องจากขบวนการดำเนินไปตามเวลาที่คลื่นสะท้อนเดินทาง ไม่ใช่เป็นไปตามความเข้มของคลื่นสะท้อน จึงจัดได้ว่าอัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ มีข้อดีเหนือกว่าเซ็นเซอร์แบบออปติคอล (Optical Sensor) เวลาที่คลื่นสะท้อนการเดินทางจะ ทำให้ขบวนการดำเนินโดยไม่ขึ้นกับความเข้มของคลื่นสะท้อน ตราบเท่าที่วัตถุยังคงสะท้อนคลื่นที่สามารถตรวจจับได้ออกมา ดังนั้นคุณลักษณะการสวิทซ์ไม่เปลี่ยนไป แม้ในสภาวะที่การสะท้อนเป็นไปอย่างไม่ดีคลื่นสะท้อนที่อ่อนจะมีผลต่อความถูกต้องในการตรวจจับวัตถุ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถทำการตรวจจับวัตถุได้เลย ความเร็วที่เปลี่ยนไปของคลื่นพัลซ์ของเสียง มีผลกระทบต่อพิสัย การทำงานของสวิทช์ (ระยะทาง) โดยตรงเซ็นเซอร์ทำงานด้วยวงจรเวลาที่คงที่ (เช่น t = 20 ms) จะส่งคลื่นเสียงออกมาอย่างสม่ำเสมอ (ดังแสดงในรูป)ดังนั้นวงจรเวลาจะเป็นตัวกำหนดช่วงและวงจรการทำงานของสวิทซ์ของเซ็นเซอร์
Servo เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในระบบควบคุมอัตโนมัติ มาจากภาษาละตินคำว่า Sevus หมายถึง “ทาส” (Slave) ในเชิงความหมายของ Servo Motor ก็คือ Motor ที่เราสามารถสั่งงานหรือตั้งค่า แล้วตัว Motor จะหมุนไปยังตำแหน่งองศาที่เราสั่งได้เองอย่างถูกต้อง โดยใช้การควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control)
วงจรการต่อกับ Arduino
เซ็นเซอร์ใช้ TCRT5000
ใช้แสงอินฟราเรดการตรวจจับความไวสูง, ป้องกันการรบกวนและมีเสถียรภาพ
สายไฟ:VCC
VCC บวกอินพุตพอร์ตแหล่งจ่ายไฟและสามารถเชื่อมต่อกับแรงดันไฟฟ้า 3.3 โวลต์ ~ 5 โวลต์.
- GND
GND เป็นเชิงลบของแหล่งจ่ายไฟ
เซ็นเซอร์ใช้ TCRT5000
VCC บวกอินพุตพอร์ตแหล่งจ่ายไฟและสามารถเชื่อมต่อกับแรงดันไฟฟ้า 3.3 โวลต์ ~ 5 โวลต์.
- OUT1 ~ 5
OUT เป็นสัญญาณเอาต์พุตพอร์ตซึ่ง links I/O พอร์ต MCU.
Arduino UNO R3
Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Sourceคือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วยบอร์ด Arduino ถือว่าเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ยอดนิยม และใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่สามารถนำไปพัฒนาโปรเจ็คได้หลากหลาย เรียนรู้ได้ง่ายและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกจนใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก
รายละเอียดบอร์ด Arduino UNO R3
– เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่าน USB
– สามารถเขียนและโปรแกรมตัวบอร์ดด้วย Arduino IDE
– ตัวบอร์ดใช้ชิป ATmega328p ประมวลผลไวขึ้น เป็นชิปตัวใหม่อัพเกรดจากรุ่นก่อน
– ตัวบอร์ดใช้ไฟเลี้ยง 5 V
Arduino ESp8266 Power Bank
แหล่งจ่ายไฟสำหรับ Arduino ชาร์จไฟผ่าน USB ถ่าน 18650 1 ก้อน สีดำ วงจร Step up แปลงไฟขึ้นจาก 3V เป็น 5V 1A เอาต์พุตแบบ USB และวงจรชาร์จแบต Li-ion 18650 ชาร์จผ่าน สาย Micro USB ใช้จ่ายไฟให้ arduino esp8266 และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ ใช้กับ แบตเตอรี่ 18650 หัวแบน
7.6สายไฟจัมเปอร์ ผู้-เมีย ยาว 20cm.
มาดูวิธีทำเจ้า Smart Box กันค่ะ..
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
ส่วนที่ 1 : Arduino Car
- ล้อรถ Smart Car จำนวน 2 ล้อ
- ล้ออิสระ จำนวน 1 ล้อ
- สายไฟ แดง-ดำ จำนวน 6 คู่
- สายไฟเชื่อม จำนวน 2 เส้น
- รางถ่านพร้อม BMS จำนวน 1 ชุด
- ถ่าน 18650 จำนวน 2 ก้อน
- บอร์ด Arduino R3 จำนวน 1 บอร์ด
- Modul ขับมอร์เตอร์ (L298P) จำนวน 1 ตัว
- สวิตซ์ เปิด – ปิด จำนวน 1 ตัว
- แผ่นไม้สำหรับทำโครง จำนวน 2 แผ่น
- แผ่นไม้สำหรับทำฐาน จำนวน 1 แผ่น
- Tracking Sensor 5 Channel จำนวน 1 ตัว
ส่วนที่ 2 : ถังขยะอัจฉริยะ
- กล่องที่ทำจากฟิวเจอร์บอร์ด จำนวน 1 กล่อง
- Servo SG 90 จำนวน 1 ตัว
- สาย USB จำนวน 1 สาย
- สายไฟต่อบอร์ด จำนวน 1 สาย
- Ultrasonic ตรวจจับวัตถุ จำนวน 1 ตัว
- บอร์ดทดลองเล็ก จำนวน 1 บอร์ด
- เส้นลวด จำนวน 1 เส้น
- ถ่าน 18650 จำนวน 1 ก้อน
- Arduino ESp8266 Power Bank จำนวน 1 อัน
ขั้นตอนการต่อวงจร
ส่วนที่ 1 Smart car
- ออกแบบและประกอบโครงรถด้วยแผ่นไม้และ ล้อ 2 ล้อ
- ประกอบรางถ่านกับ BMS (ป้องกันการระเบิดของถ่าน)
- ต่อไฟลบ (P-) ของ รางถ่าน เข้า GND ใน Arduino R3
- ติดตั้งสวิตซ์และนำไฟลบเข้า ช่อง GND ไฟบวก(P+)ของ รางถ่านต่อกับไฟบวกใน Arduino R3
- ติดตั้งมอเตอร์และล้อรถ จากนั้นต่อไฟ บวกและลบ เข้าช่อง MOTORA ทั้ง 2 ล้อ ในบอร์ด Arduino R3
- ต่อวงจรของ Tracking Sensor 5 Channel ในบอร์ด Arduino R3 โดยกำหนดให้
S1 = 1 , S2 = 2 , S3 = 3 , S4 = 4 , S5 = 5
- ใส่ถ่าน 18650 2 ก้อนที่ชาร์ทเต็ม ลงในรางถ่าน
ขั้นตอนการต่อวงจร
ส่วนที่ 2 Smart box
- ออกแบบและประกอบกล่องพร้อมฝาปิด
- ติดตั้ง บอร์ดทดลองขนาดเล็ก , Power bank , Ultrasonic , Servo และ Arduino UNO
- ต่อ GND ลงบอร์ดทดลองขนาดเล็กร่วมกับ GND ในส่วนของ Smart car
- ต่อ Ultrasonic กับช่อง VCC 5V ในบอร์ด Arduino UNO และ GND ต่อลงใน Arduino R3
ส่วนของ Servo with Ultrasonic
- ต่อ GND ลงในช่อง GND ของ Arduino UNO ต่อ VCC ในบอร์ดทดลอง และต่อเข้าไปใน Arduino UNO ของช่อง 5V
- ต่อ Echo ในช่องที่ 2 และ Trig ในช่องที่ 3 ของบอร์ด Arduino UNO
- ใส่ถ่าน 18650 1 ก้อนที่ชาร์ทเต็ม ลงในรางถ่าน
- ประกอบเข้ากับส่วนที่ 1 และเขียนโค้ดให้ Smart box และ Smart car ทำงาน
รายละเอียดโปรแกรมที่ได้พัฒนาในเชิงเทคนิค
Flowchart Source Code
ส่วนของ Smart Car
Flowchart Source Code
ส่วนของ Smart box
แหล่งที่มาอ้างอิงของ Source Code Trigger Servo With Ultrasonic Sensor.
CLICK THAT MOMENT.// Feb 4, 2019.// How To Trigger Servo With Ultrasonic Sensor..// https://www.youtube.com/watch?v=paG9VBGrTi0
ขอบเขตและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนา
สำหรับโครงงานนี้มีขอบเขตโดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
1 ส่วนของระบบเปิด-ปิด อัตโนมัติ
1.1 Ultrasonic ตรวจจับวัตถุจะตรวจจับมือ หรือของที่อยู่ในมือผู้ใช้ และทำการส่งข้อมูลไปยัง Servo ให้เปิดฝาถัง และ ปิด เมื่อไม่มีวัตถุไหนเข้าใกล้
2 ส่วนของระบบเดินอัตโนมัติโดย Arduino
2.1การเขียน code คำสั่งจะสั่งให้ รถของเราเดินตามเส้น
กลุ่มผู้ใช้โปรแกรม
เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็สามารถใช้งานได้ โดยศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงานหรือคู่มือใช้งานโปรแกรมที่นำมาใช้
ซึ่งในบางครั้งอาจใช้วิธีการปรับปรุงระบบงานเดิมโดยสอบถามถึงปัญหาของระบบงานเก่าที่ใช้อยู่ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง และต้องการจะให้ระบบใหม่ที่จะใช้นี้มีหน้าตาออกมาอย่างไร การสอบถามข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ได้โปรแกรมหรือระบบงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด นอกจากนี้เมื่อได้ระบบดังกล่าวแล้ว อาจต้องนำมาทดสอบกับผู้ใช้เหล่านี้อีกครั้ง เพื่อขอรับฟังข้อแนะนำรวมถึงการทดสอบปัญหาเบื้องต้น ซึ่งพอจะสรุปความต้องการ
ผลประเมินจากผู้ใช้ (โดยเฉลี่ย)
ผลการทดสอบโปรแกรม และตารางผลการทดลอง
ปัญหาและอุปสรรค
1.Smart Box ไม่สามารถวิ่งบนพื้นที่มีสีอื่นนอกจากสีขาวได้
(แต่เราสามารถเขียนโค้ดเพื่อนให้Smart Boxวิ่งได้กับทุกสีพื้น)
2.การต่อวงจรกับบอร์ดArduinoค่อนข้างซับซ้อนกับตัวเซ็นเซอร์และเซอร์โว ทำให้เกิดความสับสนเสียบสายผิด
3.เมื่ออุปกรณ์ผิดพลาดหรือมีปัญหาทำให้เราต้องแก้ที่ตัวโค้ดใหม่อีกรอบ
4.ศึกษาโค้ดไม่ละเอียด เพราะโค้ดค่อนข้างมีความซีบซ้อน ทำให้ตัวรถเกิดปัญหา
แนวทางในการพัฒนาต่อในอนาคตที่สามารใช้ร่วมกับงานอื่นๆ
จากคลิปการทดลองทำให้เห็นได้ว่า Smart Boxคันนี้ สามารถส่งของหรือเอกสารได้หลายรูปแบบเช่น กระดาษ ชีทงาน เอกสาร หรือสิ่งของต่างๆได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามในตอนนี้ เรายังต้องการพัฒนาให้Smart Box สามารถใส่สิ่งของอื่นๆได้เยอะและหลากหลายในอาณาเขตที่ไกลกว่าเดิม อาจจะสามารถนำไปปรับใช้กับการส่งเอกสารในบริษัทได้ หรือในหน่วยงานต่างๆเพื่อให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ข้อสรุปและข้อเนอแนะ
สำหรับการทำให้Smart Boxได้นั้น การทำงานหลักประกอบไปด้วยล้อเคลื่อนที่ 3 ตัว แผงวงจรArduinoและเซอโวกับเซ็นเซอร์ รวมถึงการเขียนโค้ดใส่เข้าไปเพื่อให้รถทำงานตามที่เราต้องการเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วก็นำไปใส่ไว้ด้านในกล่องซึ่งทำให้เคลื่อนไหวได้ ส่วนด้านหน้านั้นจะมีตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ ทำให้สามารถรู้ทิศทางรู้ตำแหน่งของวัตถุที่เข้าใกล้ เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็สามารถทำให้Smart Boxทำงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายความต้องการของงานนั้น การทำงานของมันก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะเขียนโค้ดใส่ลงไปเพื่อนไปสั่งการให้มันทำงานนั้นๆในแบบที่เราต้องการได้อีกด้วย
แหล่งที่มาอ้างอิง (Reference)
wait.//(2017).//ระบบติดตามขยะอัจฉริยะในห้องสมุดเพื่อห้องสมุดสีเขียว.// https://smartcity.kmitl.io/smart-environment-smart-trash/
บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด.//(2016).//Arduino Nano.
// https://www.gravitechthai.com/guru2.php?p=215
บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด.//(2016).// IR Infrared Obstacle Avoidance Sensor.// https://www.gravitechthai.com/guru2.php?p=215
บริษัท ไดกิ้นอินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด.//(2016).//รถ AGV คืออะไร.// http://www.tpa.or.th/publisher/images/abstract/abskz666.pdf
CLICK THAT MOMENT.// Feb 4, 2019.// How To Trigger Servo With Ultrasonic Sensor..// https://www.youtube.com/watch?v=paG9VBGrTi0
เพื่อนๆสามารถดูคลิปวิดิโอการทำ Smart Box ได้ในลิงค์ที่แปะไว้ให้ได้เลยนะคะ
คลิปวิดิโอเพิ่มเติม
นำเสนอวันที่ 15/05/62
แสดงการสร้างโปรเจค
การเขียน code