วันนี้ผมจะมาสอนการเขียนแบบ ลูกสูบโดย ใช้โปรแกรม Auto CAD
หลักการทำงานของลูกสูบ
ลูกสูบ มีหน้าที่ที่สำคัญในระบบการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงคือ ทำหน้าที่รับแรงกดดันจากการเผาไหม้และส่งกำลังนี้ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยงโดยผ่านทางก้านสูบ ในขณะที่ทำงานนั้น ลูกสูบจะได้รับความร้อนอยู่ตลอดเวลาจึงต้องสามารถทนต่ออุณหภูมิ และการทำงานรอบสูงๆเป็นเวลานานได้ โดยปรกติลูกสูบจะทำมาจากโลหะผสมอะลูมิเนียมซึ่งมีน้ำหนักเบาและสามารถระบายความร้อนได้ดี การทำงานของลูกสูบนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลูกสูบ 2จังหวะ และ ลูกสูบ 4 จังหวะ ซึ่งมีหลักการทำงานและความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน
จังหวะที่ 1
จังหวะคายกับดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายบนลงมาเรื่อยๆ จนผ่านพอร์ทไอเสีย หรือช่องระบายไอเสีย ไอเสียก็จะผ่านออกไปทางช่องนี้เมื่อลูกสูบเคลื่อนต่อไปอีกเล็กน้อย ช่องไอดีก็จะเปิดให้ไอดีที่ได้จากการผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงจากคาร์บูเรเตอร์เข้าไปในกระบอกสูบและไล่ไอเสียออกไปจนหมดสิ้น จนลูกสูบจะเคลื่อนลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่าง
จังหวะที่ 2
จังหวะอัดกับระเบิด ลูกสูบจะเคลื่อนจากศูนย์ตายล่างขึ้นไปเรื่อยๆ จนปิดพอร์ทไอดีและพอร์ทไอเสียตามลำดับ พร้อมกับอัดไอดีไปด้วยเมื่อลูกสูบเคลื่อนเข้าใกล้จุดศูนย์ตายบน หัวเทียนได้รับแรงดันไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าจุดระเบิด และจุดประกายไฟในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเผาไหม้ และระเบิดดันลูกสูบให้ทำงาน ในขณะเดียวกันไอเสียก็จะมีความดันสูงด้วย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเปิดช่องไอดี ไอดีก็จะเข้ามาและทำการขับไล่ไอเสียออกไปทางช่องไอเสียเหลือไว้เพียงแต่ไอดีในห้องเผาไหม้
ประโยชน์ของลูกสูบ
ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลงภายในกระบอกสูบ เพื่อดำเนินกลวัตรในจังหวะประจุ ไอดี อัดส่วนผสม จุดระเบิด และคายไอเสียหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของลูกสูบก็คือ
รับแรงกดดันจากการเผาไหม้และส่งกำลังนี้ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยงโดยผ่านก้านสูบ ลูกสูบนั้นยังได้รับความร้อน และอุณหภูมิที่สูงที่สุดที่กระทำอยู่ตลอดเวลาและ
จะต้องสามารถคงทนต่อการทำงานที่รอบสูงเป็นเวลานานๆได้
https://drive.google.com/drive/my-drive
https://www.youtube.com/watch?v=lYSZ9ReQexE&feature=youtu.be
https://drive.google.com/drive/folders/0BwagA8Z7OdkySWFMOEcyeVhlMFk?usp=sharing