Rapid Application Development (RAD) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของ Structured Design ด้วยการพัฒนาระบบให้มีขั้นตอนการทำงานที่รวบรัดมากขึ้น ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) และเทคนิค (Techniques) ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพํฒนาระบบนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้ระบบยังสามารถทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบ เพื่อบอกนักวิเคราะห์ระบบได้ว่า ระบบที่ออกแบบมานั้นถูกต้องหรือไม่ และมีข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้นบ้าง จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Methodology แบบ RAD นี้ได้มีการนำเทคนิคและเครื่องมือชนิดต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาระบบให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ใน Systems Development Life Cycle (SDLC) ได้ด้วยการใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าแบบ Structured systems analysis and design method (SSADM)
ขั้นตอนการทำงานของวงจรการพัฒนาแบบ RAD ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้
- การกำหนดความต้องการ (Planning) เป็นการกำหนดหน้าที่และงานต่าง ๆ ภายในระบบ โดยผู้ใช้และบริหารร่วมสัมมนา
- การออกแบบโดยผู้ใช้ ผู้ใช้มีส่วนในการออกแบบระบบที่ไม่ใช่ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ เช่น ฟอร์ม หน้าจอ
- การสร้างระบบโดยการใช้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์อย่างเร็ว (RAD Software) ในการสร้างโปรแกรม
- การเปลี่ยนระบบ ทำการทดสอบระบบให้เสร็จสิ้นก่อน ฝึกอบรม แล้วจึงมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือในการพัฒนาระบบงานอย่างเร็ว
การรวมขั้นตอนการทำงานของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เพื่อให้เป็นวงจรการพัฒนาแบบ RAD สามารถแสดงได้ดังนี้
นอกจากนี้วิธีการพัฒนาระบบที่มีแนวทางในการพัฒนาตามแบบ RAD Methodology ยังมีการแตกแขนงออกไปอีกหลายวิธี เช่น Phased Development-based Methodology, Prototyping-based Methodology และThrow -Away Prototyping-based Methodology เป็นต้น
โดยวงจรการพัฒนาแบบ RAD มีข้อดีคือ สามารถพัฒนาระบบได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการใช้เครื่องมือ หรือซอฟต์แวร์ในการพัฒนาระบบ ส่วนข้อเสียของ RAD คือ การลดขนาดระบบลง (Reduced Scalability) ทำให้มีความยืดหยุ่นน้อย เนื่องจากพัฒนาจากต้นแบบ นอกจากนี้คุณลักษณะยังลดน้อยลง (Reduced Features) เพราะถูกจำกัดด้วยเวลา อาจะทำให้ได้ระบบที่ไม่สมบูรณ์